บทความเรื่องเทคโนโลยี


                                          บทความเรื่อง plickers


น่าชื่นชม! ครูไทย 4.0 ใช้ “Plickers” สร้างสรรค์ห้องเรียน “แบบล้ำๆ”

เมื่อครูไทยนำการ์ด Plickers มาให้นักเรียนใช้ เพื่อช่วยในการเช็คชื่อ และตอบคำถาม มันจะส่งผลอย่างไรต่อทั้งครูและนักเรียน ? 

                  รูปภาพ : https://www.beartai.com/wp-content/uploads/2017/08/maxresdefault-1-e1501687551735.jpg



เมื่อครูไทยนำการ์ด Plickers มาให้นักเรียนใช้ เพื่อช่วยในการเช็คชื่อ และตอบคำถาม มันจะส่งผลอย่างไรต่อทั้งครูและนักเรียน ?

Plickers คืออะไร


Plickers (Paper + Clicker) เป็นเครื่องมือในการช่วยสอนสำหรับเก็บข้อมูลของนักเรียน โดยจะมีกระดาษเป็นโค้ดให้นักเรียนถือ ซึ่งกระดาษดังกล่าวจะมีด้านที่ต่างกันทั้ง 4 ด้าน และมีตัวเลขเฉพาะของนักเรียนแต่ละคนอยู่ที่มุมกระดาษ  เมื่อครูได้เปิดคำถามที่ได้สร้างขึ้นผ่านทาง plickers.com ให้นักเรียนได้รับทราบ และร่วมกันตอบคำถามโดยการชูกระดาษโค้ดในด้าน A, B ,C หรือ D ตามที่คิดว่าถูกต้อง จากนั้นครูจะใช้สมาร์ทโฟนเปิดแอป Plickers (สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งใน iOS และ Android) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากเว็บ plickers.com แล้วเปิดกล้องเพื่อสแกนโค้ดที่นักเรียนถือ
ผลลัพธ์ คือ จะมีการแสดงผลของคำตอบตามที่โค้ดที่นักเรียนถือในทันที โดยระบบจำทำการเก็บรวบรวมเป็นสถิติไว้ในเว็บ plickers.com เพื่อให้ครูได้นำไปพัฒนาสื่อการเรียนการสอนต่อไป

Plickers ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สำคัญที่การประยุกต์ ?


แน่นอนว่า Plickers นั้นไม่ใช่เครื่องมือรูปแบบใหม่ ในต่างประเทศได้มีการทดลองสร้างคลาสด้วย Plickersอย่างน่าสนใจ และคำสำคัญก็คือ “การประยุกต์” สำหรับใช้ในห้องเรียน นั่นคือสิ่งที่การเรียนการสอนยุค 4.0 นี้ ควรจะเป็น
จะเห็นได้ว่านักเรียนไทยอาจจะ “ยังไม่คุ้นชิน” กับการนำเทคโนโลยีมาผนวกเข้ากับกับการสอน ถึงแม้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งก็ตาม แต่พวกเขาได้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง พวกเขาจะสามารถ “ปรับตัวได้” ในที่สุด
Plickers เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจ เพราะถ้าหากเปรียบเทียบครู 1 คน ต่อปริมาณนักเรียนแล้วนั้น ยอมรับว่าอัตราส่วนโดยมากยังเป็น 1:30 หรือ 1:50 อยู่ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่ครูจะเก็บรวบรวมทุกรายละเอียดของนักเรียนได้ด้วยตัวเอง
ดังนั้นการใช้การในหลักคณิตศาสตร์ร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงสถิติจากเครื่องมือที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน อย่างเช่น Plickers นั้น มาเป็นตัวช่วย จะทำให้ครูสามารถวิเคราะห์และพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันต่อการเคลื่อนตัวไปของโลกนี้ได้ดียิ่งขึ้น

อ้างอิงแหล่งที่มา: https://www.beartai.com/article/tech-article/184691

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทความเรื่องดนตรีไทย

บทความเรื่อง plickers

บทความเรื่องระนาด